ภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์
Department of Rubber Technology
ประวัติความเป็นมา
สถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในประเทศที่เปิดสอนสาขาวิชาเทคโนโลยียางอย่างจริงจังได้เริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520ได้เปิดหลักสูตรสาขาวิทยาศาสตรบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์) หรือ “เคมียาง”โดยมีบัณฑิตจบการศึกษาเป็นรุ่นแรกในปี พ.ศ. 2523 และได้ผลิตบัณฑิตด้านเคมียางอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวน 5รุ่น ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับความเห็นชอบจากทบวงมหาวิทยาลัยให้จัดตั้ง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อรับผิดชอบการผลิตบัณฑิตในสาขาเทคโนโลยียางและสาขาวิชาอื่นๆ ดังนั้นการผลิตบัณฑิตวิทยาศาสตรบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์) ในสาขา “เคมียาง”จึงได้สิ้นสุดลงและนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมาได้เริ่มรับนักศึกษาเข้าเรียนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยียาง)เพื่อให้มีหน่วยงานรับผิดชอบด้านการเรียนการสอนและบริหารหลักสูตรเทคโนโลยีการยาง คณะฯจึงได้จัดตั้งแผนกวิชาเทคโนโลยีพอลิเมอร์ขึ้นมาเป็นหน่วยงานภายในของคณะฯสังกัดภาควิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ภายหลังเมื่อมีการจัดตั้งภาควิชาเทคโนโลยีและการอุตสาหกรรม ขึ้นใ
นปี พ.ศ. 2531 จึงได้โอนงานทั้งหมดของแผนกวิชาไปสังกัดภาควิชาเทคโนโลยีและการอุตสาหกรรมและบัณฑิตในสาขาดังกล่าวจบการศึกษารุ่นแรก ในปี พ.ศ. 2532 ปัจจุบันปี 2561 มีนักศึกษาจบไปแล้วกว่า 30
รุ่น ประมาณกว่า 1,000 คน กระจายอยู่ในภาคอุตสาหกรรมยาง สารเคมี และพอลิเมอร์ ภาคการศึกษารัฐวิสาหกิจ วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ เป็นต้น ทักษะดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ สู่การมีงานทำ
วิสัยทัศน์
เป็นหน่วยงานวิชาการด้านเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ชั้นนำของประเทศและเป็นที่พึ่งของอุตสาหกรรมวิสาหกิจชุมชนและสังคม ในการผลิตบัณฑิต วิจัย และการบริการวิชาการที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
หลักสูตรที่เป็นสอนในปัจจุบัน
- ระดับปริญญาตรี
วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยียาง) B.Sc. (Rubber Technology) - ระดับปริญญาโท
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีพอลิเมอร์) M.Sc. (Polymer Technology) - ระดับปริญญาเอก
วิทยาศาสตรดุษฏีบัณฑิต (เทคโนโลยีพอลิเมอร์) Ph.D. (Polymer Technology)
เป้าหมาย
- สร้างบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถด้านเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์
- สร้างองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์เพื่อพัฒนาประเทศ
- เรียนทฤษฏีควบคู่ปฏิบัติการอย่างเข้มข้นเพื่อสร้างสุดยอดนักเทคโนโลยียางของประเทศ
- ฝึกงานในโรงงานอุตสาหกรรมยางชั้นนำของประเทศ
- สหกิจศึกษาในสถานประกอบการที่นักศึกษาเลือกทำงานในอนาคต
- ศึกษาดูงานโรงงานอุตสาหกรรมยางชั้นนำในนิคมอุตสาหกรรมทั้ง กรุงเทพฯ ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้
- วิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่ายางพารา
ลักษณะงานวิจัยและนวัตกรรม
- เทคโนโลยีน้ำยาง
- สารตัวเติมและการเสริมแรง
- เทอร์โมพลาสติกอิลาสโตเมอร์
- เทคโนโลยีรีไซเคิลยาง
- ยางธรรมชาติดัดแปรโครงสร้าง
- วัสดุยางนำไฟฟ้า
- พอลิเมอร์คอมโพสิท/นาโนคอมโพสิท
ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศเพื่อพัฒนาบัณฑิตและเสริมศักยภาพการวิจัยและพัฒนาในสาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์
- University of Twente (ประเทศเนเธอร์แลนด์)
- Univeriti Sains Malaysia (ประเทศมาเลเซีย)
- Le Mans Universite (ประเทศฝรั่งเศส)
- Shizuoka University (ประเทศญี่ปุ่น)
- Tokyo University of Agriculture and Technology (ประเทศญี่ปุ่น)
ทุนการศึกษา
- ทุนเทคโนโลยียาง
- ทุน E.F.T. White
- ทุนบริษัทไทยบริดสโตน
- ทุนการศึกษาที่ได้รับการจัดสรรโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- ทุนโครงการทายาทอุตสาหกรรม
ข้อมูลการติดต่อ
ที่อยู่:ภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 หมู่ที่ 6 ถนนเจริญประดิษฐ์ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
โทรศัพท์: 073-313-928-50 ต่อ 1861 หรือ 073-312-213
โทรสาร: 073-331-099
www. rubber.sat.psu.ac.th
Facebook: ภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ม.อ. ปัตตานี