Bachelor of Science (B.Sc.)
Chemistry-Biology
ชื่อปริญญาภาษาไทย วท.บ. (เคมี-ชีววิทยา)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ B.Sc. (Chemistry-Biology)
ปรัชญาของหลักสูตร
ผลิตนักวิชาการ/นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถทั้งทางด้านเคมีและชีววิทยา
บัณฑิตมีความรู้ความสามารถทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติในสาขาวิชาเคมีและชีววิทยา เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง รวมทั้งมีความคิดสร้างสรรค์ ในการคิดค้นนวัตกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมในยุคปัจจุบัน รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และมีความสามารถในการพัฒนาตนเอง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในท้องถิ่นภาคใต้และประเทศ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
- ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางเคมีและชีววิทยาเพียงพอ ที่สามารถศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นและเรียนรู้ศาสตร์ใหม่ ๆ ได้ด้วยตนเอง
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ด้านเคมีและชีววิทยา ปฏิบัติงานตอบสนองความต้องการของสังคมและประเทศชาติได้
- ผลิตบัณฑิตที่เชื่อมโยงองค์ความรู้ในสาขาวิชาเคมีและชีววิทยาแบบบูรณาการ สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.entrance.psu.ac.th
โครงสร้างหลักสูตร แผนสหกิจศึกษาและแผนทั่วไป
แผนสหกิจศึกษา | แผนทั่วไป |
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต | 1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต |
2. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 114 หน่วยกิต
2.1 วิชาพื้นฐานวิชาเอก 24 หน่วยกิต 2.2 วิชาเอกบังคับ 57 หน่วยกิต 2.3 วิชาเอกเลือก 26 หน่วยกิต 2.4 หมวดวิชาฝึกงาน – หน่วยกิต |
2. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 114 หน่วยกิต
2.1 วิชาพื้นฐานวิชาเอก 24 หน่วยกิต 2.2 วิชาเอกบังคับ 57 หน่วยกิต 2.3 วิชาเอกเลือก 28 หน่วยกิต 2.4 หมวดวิชาฝึกงาน 5 หน่วยกิต |
2.5 การฝึกงาน – ชั่วโมง | 2.5 การฝึกงาน ไม่น้อยกว่า 300 ชั่วโมง |
2.6 หมวดวิชาสหกิจศึกษา 7 หน่วยกิต | 2.6 หมวดวิชาสหกิจศึกษา – หน่วยกิต |
3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต | 3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต |
รวม ไม่น้อยกว่า 150 หน่วยกิต | รวม ไม่น้อยกว่า 150 หน่วยกิต |
การจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร
- ใช้ภาษาอังกฤษเสริมในการเรียนการสอนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
- จัดการเรียนรู้แบบบรรยาย และแบบเชิงรุก (Active learning) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของรายวิชาในหลักสูตร เช่น การใช้สื่อ วิดีโอ การอภิปรายค้นคว้าในชั้นเรียน โครงงาน ปัญหาเป็นฐาน เน้นกระบวนการคิด และปฏิบัติการ
- จัดการศึกษาเชิงบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (WIL) ร้อยละ 30 ของรายวิชาในหลักสูตร
เน้นแนวเคมี

เน้นแนวชีววิทยา

ตลาดแรงงานและเส้นทางอาชีพ
- นักวิชาการ/นักวิทยาศาสตร์ ในองค์กรของรัฐและเอกชน ในด้านเคมีหรือชีววิทยา หรือทั้งเคมีและชีววิทยา
- นักวิจัยและพัฒนาในองค์กรของรัฐและสถานประกอบการของเอกชน
- นักวิจัยในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
- นักวิจัย/นักวิชาด้านสาธารณสุขและสุขภาพ
- อาจารย์ในวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนต่ำกว่าหลักสูตรปริญญาตรี
- นักวิชาการด้านการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อ
- ประกอบธุรกิจส่วนตัว หรืออาชีพอิสระอื่นๆ
- บุคลากรส่งเสริมการขายและวิชาการของบริษัทธุรกิจ สารเคมี อาหาร เครื่องสำอาง และอื่นๆ
สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการเรียนการสอน


ชื่อผู้ประสานงาน: ดร.วีรยา คุ้มเมือง (ประธานหลักสูตร)
เบอร์โทร : 073-313928-50 ext.1987
Email : weeraya.k@psu.ac.th