หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (B.Sc.)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมง
ชื่อปริญญาภาษาไทย วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมง วท.บ. (เทคโนโลยีการประมง)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ Bachelor of Science (Fishery Technology) B.Sc. (Fishery Technology)
รูปแบบของหลักสูตร
หลักสูตรระดับปริญญาตรีทางวิชาการ หลักสูตร 4 ปี
ปรัชญา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมงมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และมีทักษะปฏิบัติทางเทคโนโลยีการประมง มีคุณธรรม ความรับผิดชอบ และจรรยาบรรณในวิชาชีพสามารถประมวลและบูรณาการความรู้ร่วมกับศาสตร์อื่น รวมทั้งมีสมรรถนะในการพัฒนาตนเอง ตอบสนองต่อความต้องการในภาคการประมงของท้องถิ่นภาคใต้และประเทศ
ความสำคัญ
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมงดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา และเป็นไปตามพันธกิจของคณะและมหาวิทยาลัยโดยมุ่งเน้นการเรียนรู้และประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมงร่วมกับความรู้ในศาสตร์สาขาอื่น มีการจัดการเรียนการสอนทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติมีการฝึกงานหรือให้เลือกสหกิจศึกษาทางเทคโนโลยีการประมงการเรียนการสอนในหลักสูตรเน้นสาระวิชาด้านเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวสัตว์น้ำ ตลอดจนพัฒนาผลิตภัณฑ์ประมงที่มีความปลอดภัยได้มาตรฐาน อีกทั้งสร้างสรรค์องค์ความรู้เพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มผลิตภาพทางการประมง สนับสนุนความมั่นคงด้านอาหารและการใช้ทรัพยากรประมงของประเทศได้อย่างยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
วัตถุประสงค์
- มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพ มีมนุษยสัมพันธ์และความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม
- มีความรู้ ความชำนาญทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติทางเทคโนโลยีการประมง
- สามารถเชื่อมโยงความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องนำไปคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาในงานที่ปฏิบัติได้อย่างเป็นระบบ
- มีศักยภาพในการเรียนรู้ศาสตร์ใหม่และสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถพัฒนางานวิจัยหรือสร้างสรรค์งาน รวมทั้งสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้
- สามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพึ่งพาตนเองและมีสมรรถนะในการแข่งขัน
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
แผนทั่วไปจำนวนไม่น้อยกว่า 137 หน่วยกิต
แผนสหกิจศึกษา จำนวนไม่น้อยกว่า 137 หน่วยกิต
จุดเด่นของหลักสูตร
หลักสูตรมีการบูรณาการความรู้ด้านการประมง แบบครบวงจรการผลิตสัตว์น้ำ
ตั้งแต่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวสัตว์น้ำ การควบคุมคุณภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการและการประกอบธุรกิจประมง การจัดการทรัพยากรประมง ครอบคลุมการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน สามารถจัดการและพัฒนาระบบการผลิตผลิตผลสัตว์น้ำและพืชน้ำที่ได้มาตรฐานแบบครบวงจร ตลอดจนพัฒนาผลิตภัณฑ์ประมงที่มีความปลอดภัยได้มาตรฐาน
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
- ห้องปฏิบัติการ
- การเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเลและแพลงก์ตอน
- การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
- โรคและปรสิตของสัตว์น้ำ
- ผลิตภัณฑ์ประมง
- Wet lab
- บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนอกอาคาร
- หน่วยวิจัยและเพาะฟักสัตว์น้ำสะกอม

รูป ก. ห้องปฏิบัติการการเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเลและแพลงก์ตอน

รูป ข. ห้องปฏิบัติการการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ

รูป ค. ห้องปฏิบัติการโรคและปรสิตของสัตว์น้ำ

รูป ข. ห้องปฏิบัติการการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
รูปที่ 1-4 ค. บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนอกอาคาร
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.entrance.psu.ac.th
ข้อมูลการติดต่อหลักสูตร
ชื่อผู้ประสานงาน : ดร.นิรัติศัย เพชรสุภา (ประธานหลักสูตร)
Email : nirattisai.p@psu.ac.th