Bachelor of Science (B.Sc.)
Nutrition and Dietetics
ชื่อปริญญาภาษาไทย วท.บ.(โภชนศาสตร์และการกำหนดอาหาร)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ B.Sc (Nutrition and Dietetics)
จุดเด่นของหลักสูตร
- เป็นหลักสูตรแรกที่เปิดสอนในภาคใต้
- ตอบสนองต่อความต้องการนักโภชนาการและนักกำหนดอาหารในสังคมไทย
- เอกลักษณ์สำคัญของบัณฑิตที่จบจากที่นี่ คือ มีความรู้ความเข้าใจในหลักการฮาลาลสำหรับระบบบริการสุขภาพและอาหาร ซึ่งหลักสูตรในที่อื่นๆ ไม่มี
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.entrance.psu.ac.th
เรียนจบแล้ว บัณฑิตมีความสามารถในด้านวิชาชีพและมีทักษะทั่วไปดังนี้
- คัดกรอง ประเมินภาวะโภชนาการ วางแผนและดำเนินการให้โภชนบำบัด รวมไปถึงการประเมินการให้คำแนะนำและปรึกษาด้านโภชนาการ/โภชนบำบัดได้
- บริหารจัดการและวางแผนการให้บริการอาหารปริมาณมากได้
- วิจัยเบื้องต้นทางด้านโภชนศาสตร์และการกำหนดอาหารรวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อ สุขภาพ
- ประยุกต์ใช้ความรู้ในการแก้ปัญหาในสาขาโภชนศาสตร์และการกำหนดอาหารได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ตลอดจนแสวงหาความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่เสมอ
- มีทักษะทั่วไป เช่น การทำงานเป็นทีม การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ มีวิจารณญาณในการใช้สารสนเทศและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
โครงสร้างหลักสูตร
เป็นหลักสูตร 4 ปี รับนักศึกษารุ่นละ 30 คน แผนปกติ (131 หน่วยกิต) แผนสหกิจ (135 หน่วยกิต)
เนื้อหาในหลักสูตรกำหนดให้เป็นไปตามเกณฑ์ขั้นต่ำของหลักสูตรโภชนศาสตร์และการกำหนดอาหารที่
กำหนดโดยสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
หมวดวิชา | จำนวนหน่วยกิต | |
แผนปกติ | แผนสหกิจศึกษา | |
1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า | 30 | 30 |
2. หมวดวิชาเฉพาะไม่น้อยกว่า | 95 | 99 |
2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาเอก
ตัวอย่างรายวิชา ได้แก่ เภสัชวิทยาเชิงโภชนาการ ชีววิทยาของเซลล์และพันธุกรรม พยาธิวิทยา หลักเคมี ชีวเคมี หลักฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ |
34 | 34 |
2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับ
ตัวอย่างรายวิชา ได้แก่ หลักโภชนบำบัด โภชนบำบัดทางการแพทย์ โภชนาการศึกษาและการให้คำปรึกษาทางโภชนาการ โภชนาการตลอดวงจรชีวิตมนุษย์ โภชนาการมนุษย์ หลักการประกอบอาหาร หลักการฮาลาลสำหรับระบบบริการสุขภาพและอาหาร ความปลอดภัยและสุขาภิบาลอาหารวิทยาศาสตร์การอาหารสำหรับการกำหนดอาหาร การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ/ปฏิบัติงานสหกิจ |
49 | 53 |
2.3 กลุ่มวิชาเอกเลือก
ตัวอย่างรายวิชา ได้แก่ *กลุ่มวิชาด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร บรรจุภัณฑ์อาหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเนื้อสัตว์ นวัตกรรมอาหารและขนมไทย *กลุ่มวิชาด้านการบริการอาหาร การจัดการสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ ศิลปะการทำอาหาร ขนมอบ อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ การประกอบอาหารว่าง *กลุ่มวิชาด้านโภชนศาสตร์เชิงทดลอง การวิเคราะห์เชิงคุณภาพและปริมาณของสารพฤษเคมีและการทดสอบฤทธิ์ เทคนิคปฏิบัติการทางโภชนาการมนุษย์ |
12 | 12 |
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 | 6 |
รวม | 131 | 135 |
**ผู้ที่เลือกเรียน แผน 2 สหกิจศึกษา และเลือกปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในโรงพยาบาล จะได้ชั่วโมงฝึกงานโภชนาการในคลินิก รวมทั้งหลักสูตรไม่น้อยกว่า 1100 ชั่วโมง ซึ่งทำให้มีชั่วโมงประสบการณ์มากพอที่สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพ นักกำหนดอาหารไทย (Certified Dietitian of Thailand; CDT) ได้ทันทีเมื่อสำเร็จการศึกษา
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักโภชนาการ/นักกำหนดอาหาร ในหน่วยงานของรัฐและเอกชน
- ที่ปรึกษาโภชนาการในสถานประกอบการที่เกี่ยวกับการใช้อาหารเพื่อสุขภาพ
- ผู้ช่วยวิจัยสาขาโภชนาการและนักกำหนดอาหาร ทั้งในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน
- เจ้าหน้าที่และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ
- ผู้ประกอบการ/อาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับอาหารและสุขภาพ
กิจกรรมการเรียนการสอน
1.คลินิกโภชนาการ
ที่ฝึกปฏิบัติสำหรับนักศึกษาในการประเมินภาวะโภชนาการ วางแผนและแนะนำทางด้านโภชนาการแก่บุคคลทั่วไป ภายใต้คำแนะนำของอาจารย์

2.ห้องปฏิบัติการสำหรับฝึกปฏิบัติทางด้านการบริการอาหารปริมาณมาก

3.การศึกษาดูงานโภชนาการตามโรงพยาบาลต่างๆ

ข้อมูลการติดต่อหลักสูตร
ชื่อผู้ประสานงาน: ดร.ปิยะวรรณ์ บุญญานุพงศ์ (ประธานหลักสูตร)
Email : piyawan.si@psu.ac.th